สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (TPQI)

ในช่วงระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา ชื่อสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ หรือ TPQI เริ่มเข้ามามีบทบาทในการสร้างมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพต่าง ๆ ของไทยชัดเจนมากยิ่งขึ้น สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. เป็นหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ จัดทำมาตรฐานอาชีพโดยกลุ่มคนในอาชีพ และการให้การรับรองสมรรถนะเพื่อย้ำความเป็นมืออาชีพที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด เป็นการสร้างโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามแนวทางที่เป็นสากล รวมถึงเป็นศูนย์กลางเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนของประเทศด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
อำนาจหน้าที่
- ดำเนินการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ
- ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพ หรือกลุ่มวิชาชีพในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ
- รับรองมาตรฐานอาชีพของต่างประเทศและนำมาใช้เป็นมาตรฐานอาชีพตามพระราชกฤษฎีกานี้
- ให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ
- เป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และมาตรฐานอาชีพ
- ติดตามและประเมินผลองค์กร ที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ รวมทั้งระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม
- ส่งเสริม สนับสนุน และประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาศูนย์หรือสถาบันฝึกอบรม สถานประกอบการ หน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้มีการเผยแพร่และการใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และการจัดให้มีการฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพ

มาตรฐานอาชีพคืออะไร
การพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพในประเทศไทย นำไปสู่การพัฒนาและยกระดับกำลังคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยสถาบันฯ มีภารกิจในการดำเนินการสร้างการเรียนรู้ต่อระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพให้เป็นที่รู้จัก พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดความตระหนักถึงประโยชน์ของระบบคุณวุฒิวิชาชีพ สนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบอาชีพ มีส่วนร่วมในการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพให้สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมทั้งประสานความร่วมมือกับสถานศึกษา สถาบันฝึกอบรม สถานประกอบการ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ให้มีการเผยแพร่การใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ และนำมาตรฐานอาชีพและมาตรฐานสมรรถนะไปใช้เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในแต่ละสาขาวิชาชีพ
มาตรฐานอาชีพของแต่ละอาชีพเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันกับสมาคม สมาพันธ์ ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญในระดับต่าง ๆ ของอาชีพนั้นๆมาร่วมกันกำหนดว่ามาตรฐานอาชีพแต่ละอาชีพควรมีกี่ระดับชั้น ในแต่ละระดับชั้นต้องงมีสมรรถนะเป็นแบบไหน โดยสคช.ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ดูแลและให้การสนับสนุน ให้ดำเนินการไปตามกระบวนการเท่านั้น โดยไม่มีการชี้นำใด ๆ ทั้งสิ้น
คุณวุฒิวิชาชีพมีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ต่อผู้ประกอบอาชีพ คือเป็นการรับรองสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ทั้งที่มีคุณวุฒิการศึกษา และไม่มีคุณวุฒิการศึกษาและเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตนเองตามเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ประโยชน์ต่อผู้ประกอบการคือสามารถพิจารณาคัดเลือกบุคลากรจากประกาศนียบัตรคุณวุฒิวิชาชีพและหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพ เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีสมรรถนะตรงตามความต้องการ และสามารถกำหนดค่าตอบแทนได้ตรงกับสมรรถนะ
สาขาวิชาชีพที่มีการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ
- สาขาวิชาชีพการกีฬา
- สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร
- สาขาวิชาชีพการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
- สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
- สาขาวิชาชีพขนส่งชุมชน
- สาขาวิชาชีพการบิน
- สาขาวิชาชีพธุรกิจค้าปลีก
- สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดประชุมและนิทรรศการ
- สาขาวิชาชีพธุรกิจภาพถ่าย
- สาขาวิชาชีพธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์
- สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
- สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ
- สาขาวิชาชีพบริหารงานบุคคล
- สาขาวิชาชีพบริหารทรัพย์สิน
- สาขาวิชาชีพผลิตภัณฑ์ยางพารา
- สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน
- สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
- สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย
- สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
- สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์
- สาขาวิชาชีพผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
- สาขาวิชาชีพวิศวกรรมชีวการแพทย์
- สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีชีวภาพ
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรกลและโลหะการ
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปเหล็ก
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมพลาสติก
- สาขาวิชาชีพรักษาความปลอดภัย
- สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว
- สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
- สาขาวิชาชีพการเดินเรือ
- สาขาวิชาชีพอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า
- สาขาวิชาชีพการเชื่อมอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา
- สาขาวิชาชีพธุรกิจโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน
- สาขาวิชาชีพการออกแบบและสร้างสรรค์
- สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
- สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
- สาขาวิชาชีพธุรกิจบริการ
- สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย
- สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
- สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมบันเทิง
- สาขาวิชาชีพอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและงานพื้นบ้าน
- สาขาวิชาชีพการบรรเทาสาธารณภัย
- สาขาวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- สาขาวิชาชีพไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมก่อสร้างและการผังเมือง

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพได้รับรองให้กับ วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นองค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ในสาขาวิชาชีพการบิน สาขาต้อนรับบนเครื่องบิน อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ระดับ 4 โดยองค์กรรับรองฯ สามารถทำการทดสอบให้แก่นักศึกษา และผู้ที่สนใจ สำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานอาชีพ และบัตรรับรองมาตรฐานอาชีพ ดังนั้น
วิทยาลัยจึงได้จัดสอบประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาต้อนรับบนเครื่องบิน ระดับ 4 ให้กับนักศึกษาและผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการทำงานในอุตสาหกรรมการบิน อีกทั้งเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ หน้าที่และความรับผิดชอบของอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน และอาชีพที่สัมพันธ์ในอุตสาหกรรมการบินโดยตลอด 3 ปีที่ผ่านมา
เมื่อสอบประเมินสมรรถนะบุคคลแต่ละอาชีพผ่านแล้ว จะได้อะไร
อย่างแรกที่จะได้เมื่อสอบผ่านคือ ใบประกาศนียบัตรและหนังสือรับรองคุณวุฒิ เมื่อได้มาแล้วเอาไปทำอะไร สามารถนำไปสมัครงานได้ตามปกติ เพราะใบประกาศของ สคช. เปรียบเสมือนใบเป็นการการันตีว่าคนคนนั้นสามารถทำงานในอาชีพนั้น ๆ ได้จริง ๆ เป็นการลดช่องว่างของบุคคลที่ไม่มีวุฒิการศึกษา และบุคคลที่จบไม่ตรงสาขา เพื่อให้คล่องตัวยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการประเมิน
เป็นผู้ประกอบอาชีพในทุกสาขาวิชาชีพ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาทั้งที่มีและไม่มีประสบการณ์ หรือ เป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ โดย มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ระบุ ในมาตรฐานอาชีพที่ขอรับการรับรอง

เรียนการบิน CADT ++
ได้มากกว่าปริญญาตรี
เพราะมี Certificates ให้ถึง 3 หลักสูตร
- คุณวุฒิวิชาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ชั้น 4 จาก TPQI (มีการสอบคัดเลือก)
- Aviation Law : Fundamentals จาก IATA Training (มีการสอบคัดเลือก)
- Flight Simulator Certificate (เมื่อเรียนวิชาเลือก: นักบิน Simulator)