ภาพรวมอุตสาหกรรมการบินของไทย 2564

ความสำคัญของอุตสาหกรรมการบินต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
สาขาขนส่งทางอากาศ มีมูลค่ารวม 2.87 แสนล้านบาท
สาขาบริการเกี่ยวเนื่องกับการขนส่งทางอากาศ มีมูลค่ารวม 1.65 แสนล้านบาท
สาขาการผลิตและการซ่อมแซมอากาศยาน มีมูลค่ารวม 7.4 หมื่นล้านบาท
มูลค่าของอุตสาหกรรมการบิน ในปี 2564: 850 พันล้านบาท คิดเป็น 7.77 %GDP
การจ้างงาน 799,100 ตำแหน่ง
– งานประชุมสัมมนาอุตสาหกรรมการบินของไทย ประจำปี 2564
ท่าอากาศยานในประเทศไทย และเส้นทางบิน
เส้นทางบิน 449 เส้นทาง
เส้นทางบินภายในประเทศ 67 เส้นทาง
เส้นทางบินระหว่างประเทศ 382 เส้นทาง
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 6 ท่าอากาศยาน (สุวรรณภูมิ / ดอนเมือง / ภูเก็ต / หาดใหญ่ / เชียงใหม่ / แม่ฟ้าหลวง เชียงราย
กรมท่าอากาศยาน จำนวน 29 ท่าอากาศยาน
ภาคเหนือ 10 แห่ง (แม่ฮ่องสอน / ปาย / แม่สะเรียง / น่านนคร / แพร่ / ลำปาง / ตาก / แม่ฮ่องสอน / เพชรบูรณ์ / พิษณุโลก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 แห่ง (เลย / อุดรธานี / ขอนแก่น / สกลนคร / นครพนม / ร้อยเอ็ด / นครราชสีมา / บุรีรัมย์ / อุบลราชธานี
ภาคกลาง 1 แห่ง (หัวหิน)
ภาคใต้ 9 แห่ง (ชุมพร / ระนอง / นครศรีธรรมราช / สุราษฎร์ธานี / กระบี่ / ตรัง / ปัตตานี / นราธิวาส / เบตง)
บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด จำนวน 3 ท่าอากาศยาน (สุโขทัย / ตราด / สมุย)
กองทัพเรือ จำนวน 2 ท่าอากาศยาน (อู่ตะเภา / สงขลา)
สถิติการขนส่งทางอากาศ ไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2564
ที่มา: สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
- ภาพรวมจำนวนผู้โดยสารในไตรมาสที่ 2 มีจำนวน 4.3 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ลดลง 2.36 ล้านคน (ร้อยละ 35.5) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่รุนแรงขึ้นภายในประเทศ
- จำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 38,290 คน (ร้อยละ 19.6) เนื่องจากประเทศต่าง ๆ มีอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น แต่ผู้โดยสารยังคงมีความไม่มั่นใจต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด และการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส
- ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนหน้า มีการขยายตัวร้อยละ 0.01 โดยส่วนใหญ่เป็นการขนส่งสินค้าต่างประเทศ
การเปรียบเทียบร้อยละการเติบโตของจำนวนผู้โดยสาร
ในไตรมาสที่ 2 มีจำนวนผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 4.3 ล้านคน ลดลง 2.36 ล้านคน (ร้อยละ 35.5) เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ผ่านมา
Passengers | Q1-2021 VS Q4-2020 | Q2-2021 VS Q1-2021 |
Domestic | -54.2% | -37.1% |
International | -1.6% | +19.6% |
Total (%) | -53.4% | -35.5% |
การเปรียบเทียบร้อยละการเติบโตของปริมาณเที่ยวบิน
ในไตรมาสที่ 2 มีปริมาณเที่ยวบินทั้งสิ้น 61,636 เที่ยวบิน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า 16,985 เที่ยวบิน (ร้อยละ 21.6) เนื่องจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ส่งผลให้มีมาตรการจำกัดการเดินทาง สำหรับเที่ยวบินระหว่างประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้น 450 เที่ยวบิน (ร้อยละ 2.8)
Aircraft Movement | Q1-2021 VS Q4-2020 | Q2-2021 VS Q1-2021 |
Domestic | -49.1% | -27.8% |
International | +12.1% | +2.8% |
Total (%) | -42.8% | -21.6% |
การแข่งขันของเส้นทางบินระหว่างประเทศ
- สายการบินที่ขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศมากที่สุด: Emirates 34,826 คน, KLM 26,419 คน, Qatar Airways 23,044 คน
- สายการบินที่มีการขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศมากที่สุด: การบินไทย 25,043 ตัน, All Nippon Airways 16,390 ตัน, Emirates 15,563 ตัน
จำนวนผู้โดยสาร และปริมาณการส่งสินค้าทางอากาศ (เส้นทางบินระหว่างประเทศ)
เส้นทางบิน | จำนวน (คน) |
BKK-DOH | 22,884 |
BKK-HKG | 21,973 |
BKK-DXB | 17,149 |
BKK-AMS | 16,251 |
BKK-ICN | 15,124 |

เส้นทางบิน | จำนวน (ตัน) |
BKK-HKG | 38,862 |
BKK-TPE | 25,756 |
BKK-NRT | 25,742 |
BKK-ICN | 21,484 |
BKK-SIN | 15,616 |

จำนวนผู้โดยสารภายในประเทศ (สายการบินสัญชาติไทย)
สายการบิน | จำนวน (คน) |
ไทยแอร์เอเซีย | 1.17 ล้าน |
ไทยเวียตเจ็ทแอร์ | 812,132 |
ไทยไลอ้อนแอร์ | 789,638 |
ไทยสมายล์แอร์เวย์ | 556,623 |
นกแอร์ | 490,065 |
จำนวนผู้โดยสาร (เส้นทางบินในประเทศ)
เส้นทางบิน | จำนวน (คน) |
BKK/DMK-HKT | 274,968 |
BKK/DMK-HDY | 262,574 |
BKK/DMK-CNX | 249,780 |
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19

Thai Aviation Industry Conference 2021 : Flying to the new era of Thai Aviation

Thai Aviation Industry Conference 2021 : Flying to the new era of Thai Aviation
มาตรการช่วยเหลือสายการบินจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
- มาตรการลดค่าใช้จ่าย
- กรณีทำการบิน ลด Landing charge / Parking charge ร้อยละ 50
- กรณีหยุดบินชั่วคราว ยกเว้น Parking charge
- มาตรการทางการเงิน
- ขยายเวลาชำระหนี้ และยกเว้นเงินเพิ่มค่าปรับ ค่าธรรมเนียมเข้า หรือออกนอกประเทศ เป็นระยะเวลา 90 วัน
- ลดอัตราค่าเช่าในอัตราไม่ต่ำกว่าที่กรมธนารักษ์กำหนด ตั้งแต่ 1 ต.ค. 64 – 31 มี.ค. 65
- เรียกเก็บค่าบริการเดินอากาศร้อยละ 50 ในงวด ม.ค. – มิ.ย. 64 ในส่วนที่เหลือได้ขยายเวลาชำระหนี้ออกไป
- เลื่อนกำหนดชำระค่าบริการสนามบิน และค่าเครื่องอำนวยความสะดวก ตั้งแต่ เม.ย. – ธ.ค. 64 ออกไปงวดละ 9 เดือน และให้ผ่อนชำระสูงสุด 12 งวด
- การผ่อนคลายกฎระเบียบ
- การยกเว้นให้สามารถขนส่งสินค้าภายในห้องโดยสารได้
- การยกเลิกการจัดเก็บประวัติการบิน
- ขยายระยะเวลาการมีผลใช้ได้ของใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ และเอกสารแสดงการรับรอง และยกเว้นการยื่นเอกสารในการต่ออายุ
- การยกเว้นการตรวจสถานที่จริง และการตรวจการปฏิบัติการ หรือการตรวจติดตาม